เรารักพระเจ้าอยู่หัว

เรารักพระเจ้าอยู่หัว
พ่อของแผ่นดิน

วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ลักษณะของสังคมชมพูทวีปและคติความเชื่อทางศาสนาสมัยก่อนพระพุทธเจ้า

1. ลักษณะของสังคมชมพูทวีป และคติความเชื่อทางศาสนาสมัยก่อนพระพุทธเจ้า

ในสมัยพุทธกาล อินเดียหรือชมพูทวีป แบ่งอาณาเขตเป็น 2 เขตคือ
เขตภาคกลาง เรียกว่า มัชฉิมชนบทหรือมัธยมประเทศ เป็นที่อยู่ของชนชาติอริยกะ หรืออารยัน แปลว่า ผู้เจริญเป็นดินแดนของชนผิวขาว
เขตรอบนอก เรียกว่า ประจันตชนบทหรือประจันตประเทศ คือ ประเทศปลายเขตเป็นที่อยู่ของชนชาติมิลักขะ หรืออนารยชน เป็นดินแดนของชนพื้นเมือง
ชมพูทวีป คืออาณาเขตที่เป็นประเทศอินเดีย ปากีสถาน อัฟกานิสสถาน ศรีลังกา บังคลาเทศ และเนปาลในปัจจุบัน (ปัจจุบันเลิกใช้ชื่อชมพูทวีปนี้แล้ว) ในสมัยพุทธกาล ชมพูทวีปนอกจากแบ่งเป็น 2 เขตดังกล่าวแล้ว ได้แบ่งเป็นแคว้นต่างๆ มีจำนวน 16 แคว้น แต่ละแคว้นที่มีความสำคัญในสมัยพุทธกาลมีเพียง 6 แคว้น คือ แคว้นมคธ แคว้นวังสะ แคว้นอวันตี แคว้นกาสี แคว้นสักกะ และแคว้นโกศล
ลักษณะทางด้านการปกครอง แบ่งได้ 2 ระบบ
1. การปกครองแบบราชาธิปไตย พระมหากษัตริย์หรือผู้ครองแคว้นมีอำนาจสิทธิขาดผู้เดียว มีรัชทายาทสืบสันตติวงศ์แคว้นใหญ่ๆ ส่วนมากปกครองด้วยระบบนี้ เช่น
* แคว้นมคธ มีพระเจ้าพิมพิสารปกครอง
* แคว้นโกศล มีพระเจ้าปเสนทิโกศลปกครอง
* แคว้นอวันตี มีพระเจ้าจันปัชโชตปกครอง
* แคว้นวังสะ มีพระเจ้าอุเทนปกครอง
การปกครองของกษัตริย์ แม้จะมีอำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครอง แต่ก็มีธรรมเป็นหลักในการปกครอง
หลักธรรมสำคัญของกษัตริย์ ได้แก่
* ทศพิธราชธรรม 10 ประการ
* สังคหวัตถุ 4 ประการ
ทศพิธราชธรรม มีธรรมประกอบด้วย
ทาน              การให้
ศีล                การรักษากาย วาจา ใจให้เป็นปกติ
บริจาคะ                   การแบ่งปัน การบริจาคแก่ผู้ยาก
อาชวะ            ความซื่อตรงต่อตนเองและผู้อื่น
มัททวะ           ความอ่อนโยน ไม่กระด้าง
ตบะ              ความเพียรพยายาม
อักโกธะ          ความไม่โกรธ
อวิหิงสา          ความไม่เบียดเบียน
ขันติ              ความอดทน อดกลั้น
อวิโรธนะ         ความไม่ทำให้ผิด (ความไม่คลาด)
สังคหวัตถุ ประกอบด้วย
ทาน              การให้ คือการให้สิ่งของให้คุณธรรม ให้อภัย
ปิยะวาจา        คำปราศรัยอันอ่อนโยน
อัตถจริยา        การทำตนให้เกิดประโยชน์
สมานัตตา        การวางตนเสมอตน เสมอปลาย
2. การปกครองแบบสามัคคีธรรม หรือการปกครองแบบประชาธิปไตย การปกครองแบบนี้ไม่มีพระมหากษัตริย์ผู้มีอำนาจสิทธิ์ขาด ไม่มีการสืบสันตติวงศ์ การปกครองระบบนี้การบริหารประเทศขึ้นอยู่กับสถาบันสำคัญ คือ รัฐสภา ซึ่งสมัยเรียกว่า สัณฐาคาร มีประมุขรัฐสภาและมีคณะกรรมการรัฐสภาเป็นคณะกรรมการบริหารในสมัยพุทธกาล มีลักษณะดังนี้
ประมุขรัฐสภา  ผู้เคยดำรงตำแหน่งนี้คือพระเจ้าสุทโธทนะแห่งศากยวงศ์ แคว้นสักกะ กรุงกบิลพัสดุ์
คณะกรรมการ
ฝ่ายบริหารบ้านเมือง  ในสมัยพุทธกาล ได้แก่ กษัตริย์ลิจฉวี แห่งเมืองเวสาลี แคว้นวัชชี
กรรมการรัฐสภา  มาจากหัวหน้าครอบครัวใหญ่ๆ ระดับเมือง (ชนบท) ระดับอำเภอ
สมาชิกรัฐสภาจะต้องให้คำปฏิญญาต่อสัณฐาคาร หรือรัฐสภา เช่น จะรักษาไว้ซึ่งประโยชน์ส่วนรวม จะไม่ขาดประชุม จะแสดงความคิดโดยเปิดเผย จะต้องปราศจากความโกรธแคว้นเมื่อถูกกล่าวหา และจะยอมรับสารภาพถ้ากระทำผิด
หลักธรรมที่การปกครองยึดถือปฏิบัติคือ อปริหานิยธรรม มีสาระสำคัญ คือ
* หมั่นประชุมกันอย่างเนืองนิตย์
* พร้อมเพียงกันประชุม พร้อมเพียงกันเลิกประชุม
* ไม่บัญญัติสิ่งใหม่อันขัดต่อหลักการเดิม ไม่ล้มล้างบัญญัติเก่าที่ยังใช้ได้อยู่
* เคารพนับถือและเชื่อฟังผู้ใหญ่
* ปกครองสตรี มิให้ถูกข่มเหงรังแก
* เคารพในปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุ
* คุ้มครองป้องกันภัยแก่ สมณ ชี พราหมณ์ ผู้เป็นที่พึ่งทางใจของประชาชน
ลักษณะสังคมของชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล
สังคม หมายถึง กลุ่มชนที่อยู่รวมกัน เป็นบ้าน เป็นเมือง เป็นประเทศชาติ โดยมีระบบแห่งความสัมพันธ์ที่มีหลักการ ได้แก่ การปกครอง การศึกษา เศรษฐกิจ ศาสนา ความก้าวหน้าทางศิลปวิทยา และการนันทนาการ
ลักษณะทางสังคมของชมพูทวีปสมัยพุทธกาล ได้มีการแบ่งวรรณะอยู่แล้วเป็น 4 วรรณะคือ
* วรรณะกษัตริย์ ได้แก่ พวกเจ้า กษัตริย์ นักรบ นักปกครอง สีประจำวรรณะ คือสีแดง
* วรรณะพราหมณ์ ได้แก่ นักบวช ศึกษาคัมภีร์พระเวท มีหน้าที่ติดต่อกับเทวะหรือเทพเจ้า ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา สีประจำวรรณะ คือสีขาว
* วรรณะแพศย์ ได้แก่ พ่อค้า คหบดี หรือบุคคลที่ประกอบอาชีพต่างๆ เช่น พาณิชยกรรม เกษตรกรรม ศิลปหัตถกรรม พวกนี้เป็นชนชั้นกลางในสังคม สีประจำวรรณะ คือสีเหลือง
* วรรณะศูทร ได้แก่ กรรมกร ลูกจ้าง เป็นพวกชนชั้นต่ำ ผู้ใช้แรงงาน เป็นชนชั้นล่างของสังคม สีประจำวรรณะ คือสีเขียว หรือสีดำ
นอกจากนี้ ยังมีพวกนอกวรรณะ ที่เรียกว่า จัณฑาล ถือว่าเป็นคนชั้นต่ำสุด เพราะถือกำเนิดจากมารดาที่มีวรรณะสูงกว่าบิดา เช่น มารดาเป็นแพศย์ บิดาเป็นศูทร บุตรจะเกิดมาเป็นจัณฑาล ถูกเหยียดหยามจากวรรณะอื่นๆ ไม่มีศักดิ์และสิทธิ์ใดๆ ทางสังคม
มูลเหตุที่ทำให้เกิดวรรณะ
* ทฤษฏีเกี่ยวกับองคายพของพระผู้สร้าง กล่าวว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างมนุษย์จากอวัยวะส่วนต่างๆของพระองค์ สร้างวรรณะพราหมณ์จากพระโอษฐ์ สร้างวรรณะกษัตริย์จากพระพาหา สร้างวรรณะแพศย์จากพระอูรุ (โคนขาหรือตะโพก) สร้างวรรณะศูทรจากพระบาท
* สันนิษฐานตามหลักวิชา คำว่า วรรณะ แปลว่า สีผิว นักวิชาการสันนิษฐานว่า การแบ่งชนชั้น จะมีที่มาจากการถือเผ่าพันธ์และสีผิว พวกวรรณะสูง ได้แก่ พราหมณ์ กษัตริย์ และพวกพ่อค้า คือเผ่าอารยัน ส่วนพวกศูทรเป็นพวกเผ่ามิลักขะ หรือพวกดราวิเดียน ชนชาติอารยัน หรือพวกอริยกะ อพยพมาจากทางเหนือของภูมิภาคของชมพูทวีป และได้ขับไล่พวกมิลักขะหรือดราวิเดียนลงไปอยู่ทางใต้
ลักษณะเศรษฐกิจในชมพูทวีป
เศรษฐกิจในครั้งพุทธกาล ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรม คือ ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ รองลงมา คือการค้าขาย และหัตถกรรมภายในครัวเรือน เช่น ช่างปั้นภาชนะดิน ช่างไม้ ช่างเหล็ก ช่างทอง ช่างทอผ้า ช่างฝึกม้าฝึกช้าง เป็นต้น เศรษฐกิจในชมพูทวีปโดยเฉพาะในแว่นแคว้นทางตอนเหนือและตอนกลาง ที่ราบลุ่มแม่น้ำจะมีเศรษฐกิจที่ดี ความเป็นอยู่เรื่องการอุปโภคบริโภคอยู่ในระดับดี มีกินมีใช้ เพราะสภาพภูมิประเทศอุดมสมบูรณ์
ลักษณะความเชื่อทางศาสนา
ความเชื่อทางศาสนา แบ่งได้ 3 กลุ่ม
ความเชื่อในวิญญาณและเทพเจ้า เป็นความเชื่อดั้งเดิมของชนพื้นเมืองเดิม คือพวกมิลักขะเดิม พวกนี้จะเชื่อในสภาพ ดิน ฟ้า อากาศ ภูเขา ต้นไม้ เมื่อสภาพธรรมชาติเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น เกิดฟ้าร้อง ฟ้าผ่า พายุใหญ่ ชนพื้นเมืองจะเข้าใจว่าเป็นการกระทำของวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งพวกมิลักขะได้ยกให้เป็นเทพเจ้า ซึ่งพวกอารยันที่มาภายหลังก็ยอมรับนับถือตามไปด้วย และได้ตั้งหลักการเกี่ยวกับเทพเจ้าหรือเทวดาไว้ 3 ประเภท คือ
* สมมติเทพ เทวดาโดยสมมติ เช่น พวกมหากษัตริย์ พระราชเทวี พระราชโอรส
* อุปปัตติเทพ เทวดาโดยกำเนิด เช่น เทวดาในสวรรค์ เป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงาม ความสุข ถ้าใครรักษาความดี ก็จะเกิดเป็นเทวดา เพราะเทวดาเป็นผู้ที่มีคุณธรรม
* วิสุทธิเทพ เทวดาโดยบริสุทธิ์ หมายถึง การเป็นเทวดาด้วยความเป็นผู้บริสุทธิ์สะอาดปราศจากกิเลส ปราศจากความเศร้าหมองจากความชั่ว วิสุทธิเทพนี้ หมายถึง พระพุทธเจ้า พระอรหันต์
ความเชื่อของพวกพราหมณ์ ได้แก่ ความเชื่อในคัมภีร์ไตรเพท มีความเชื่อว่า พระพรหมเป็นผู้สร้างโลก จักรวาล และสรรพสิ่งทั้งปวง ความเชื่อของพราหมณ์อีกประการหนึ่งที่ละเลยไม่ได้ คือ ความเชื่อในเรื่องการล้างบาป มีความเชื่อว่า บาปของมนุษย์นั้นชำระล้างได้ด้วยแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่ แม่น้ำคงคา ถ้าใครได้อาบ หรือได้กินน้ำในแม่น้ำคงคา ถือว่าได้บุญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เมืองพาราณาสี ซึ่งเป็นเมืองของพระศิวะ และที่เมืองคยา ถือว่าเป็นเมืองของพระวิษณุ ผู้ที่ได้อาบ หรือดื่มกินน้ำในแม่น้ำคงคา โดยเฉพาะเมืองดังกล่าวถือว่าได้บุญมาก ความชั่วทั้งหมดจะถูกลอยไปกับสายน้ำกลายป็นผู้บริสุทธิ์ทั้งทางกายและทางใจ
ลัทธิอิสระ คือ กลุ่มที่มีความเชื่ออิสระเป็นพวกนักบวชที่มีความมุ่งหมายที่จะค้นหาความจริงอย่างเป็นอิสระ มีหลักฐานกล่าวไว้ว่า มีถึง 336 ลัทธิ แต่หลักฐานทางพระพุทธศาสนากล่าวว่ามี 62 ลัทธิ แต่ที่ตั้งสำนักสั่งสอนในกรุงราชคฤห์แคว้นมคธนั้น มีลัทธิอิสระ 6 ลัทธิ สรุปได้ดังนี้
* ปูรณกัสสป มีความเห็นว่า บุญบาปไม่จริง การกระทำใดๆ ไม่ว่าดี เลว จะไม่มีผลอะไรตอบสนอง ลัทธินี้เรียกว่า อกิริยทิฐิ ซึ่งมีความเห็นว่าทำก็เท่ากับไม่ทำ
* มักขลิโคสาล มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์และความมัวหมอง ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายบริสุทธิ์ และเศร้าหมองเองตามธรรมชาติ ลัทธินี้เรียกว่า อเหตุกทิฐิ เห็นว่าไม่มีเหตุ ไม่มีผล
* อชิตเกสกัมพล มีความเห็นว่า คนไม่มี สัตว์ไม่มี มีแต่การประชุมแห่งธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
* ปกุธกัจจายนะ มีความเห็นว่า สิ่งที่เที่ยงแท้มีอยู่ 7 อย่าง คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ลม สุข ทุกข์ และชีวะไม่ผันแปรเป็นอย่างอื่น มีอยู่อย่างไรก็อยู่อย่างนั้น เรียกว่า สัสตทิฐิ (เห็นว่านิรันดร) ในด้านจริยธรรม ถือว่าไม่มีการฆ่า ไม่มีคนถูกฆ่า เป็นเพียงแต่อาวุธชำแหละผ่านอวัยวะที่ไม่ยั่งยืนเท่านั้น แต่ชีวะที่เที่ยงแท้ไม่มีใครฆ่าได้
* นิครนถ์นาฏบุตร มีความเห็นว่า การทรมานกายให้ลำบากด้วยวิธีต่างๆ เป็นทางหลุดพ้น คือการไม่เบียดเบียน ไม่มีสมบัติที่จะครอบครอง ประพฤติตนสันโดษ เชื่อว่าการทรมานกายจะทำให้หลุดพ้นทุกข์ เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค
* สัญชัยเวลัฏฐบุตร เป็นลัทธิที่ไม่ติดกับทรรศะใดๆ เป็นลัทธิลื่นไหลไม่ตายตัวแน่นอน เรียกว่า อมราวิกเขปิกาทิฐิ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา

ความสำคัญของพระพุทธศาสนา







พระพุทธศาสนามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากลและมีข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลางคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาเป็นหลักความจริงที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติที่พระองค์ได้ทรงค้นพบ โดยมิได้ทรงสร้างขึ้นเอง และมิได้ทรงรับคำสั่งสอนจากเทพเจ้าหรือพระเจ้าองค์ใดทั้งสิ้น การบรรลุธรรมด้วยตนเองโดยอบธรรม โดยคนนั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้าด้วยกันทั้งนั้น เพราะคำว่า พุทธ แปลว่า ผู้รู้หรือ ผู้รู้สัจธรรม การที่พระพุทธศาสนามีหลักคำสอนที่เหมาะสมกับบุคคลทุกระดับชั้นและมีคุณค่าต่อชีวิตของผู้ประพฤติปฏิบัตินี้เอง จังเป็นที่ยอมับกันโดยทั่วไปว่ามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากลและมีข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลาง

พระพุทธศาสนามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล คำว่า ทฤษฎี หมายถึง หลักการ 
คำว่า วิธีการ หมายถึง แบบอย่างหรือกฎเกณฑ์ และ
คำว่า สากล หมายถึง ทั่วไป เป็นที่ยอมรับกันทั่ว ดังนั้นจากที่กล่าวว่า พระพทุธศาสนามีทฤษฏีและวิธีการที่เป็นสากล จึงหมายถึง พระพุทธศาสนามีหลักคำสั่งสอนที่มีหลักการและกฎเกณฑ์ ซี่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าถูกต้อง เป็นจริง พิสูจน์และเชื่อถือได้



หลักคำสอนที่จัดเป็นทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากลมีอยู่หลายเรื่อง เช่น หลักกรรม หลักแห่งเหตุผล และปัจจัยที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา) หลักอริยสัจ หลักการพัฒนามนุษย์ 4 ด้าน หลักบูรณาการ ตี่พระพุทธองค์ทรงนำมาสอนมากเป็นพิเศษ คือ หลักอริยสัจ 4


ประกอบด้วย หลัก 4 ประการ ดังนี้     1. ชีวิตและโลกนี้มีปัญหา (ทุกข์) ทุกชีวิตที่เกิดมาในโลกนี้ล้วนมีปัญหา มีทั้งปัญหาสากล เช่น การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความไม่สมปรารถนา ความพลัดพรากจากบุคคล สัตว์ สิ่งของ อันเป็นที่รัก ฯลฯ และปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ

    2. ปัญหามีสาเหตุ มิได้เกิดขึ้นลอย ๆ (สมุทัย) ปัญหามนุษย์เผชิญอยู่ดังข้างต้น มิใช่เกิดขึ้นลอย ๆ หรือบังเอิญ โดยไม่มีเหตุปัจจัย ทุกปัญหาเกิดขึ้นอย่างมีสาเหตุทั้งนั้น แต่เป็นเพราะเรามองไม่เห็นไม่เข้าใจปัจจัยของปัญหา จึงคิดว่าปัญหานั้นเกิดขึ้นโดยบังเอิญ


    3. มนุษย์สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง (นิโรธ) เนื่องจากปัญหาทุกปัญหาย่อมมีสาเหตุ การแก้ปัญหาได้ต้องสืบสาวหาสาเหตุให้พบ แล้วแก้ปัญหาที่สาเหตุนั้น พระพุทธศาสนาสอนไว้ว่า มนุษย์มีศักยภาพหรือความสามารถเพียงพอที่จะแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้ด้วยตัวมนุษย์เองโดยมิต้องพึ่งพา ผีสางเทวดาหรืออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ มาดลบันดาล


    4. การแก้ปัญหานั้น ต้องใช้ปัญญาและความเพียร (มรรค) ในการแก้ปัญหา จำเป็นต้องใช้ปัญญา (ความรู้) และวิริยะ (ความเพียร) อย่างเกื้อหนุนกัน จึงสามารถแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้ กล่าวคือ จะต้องรู้ว่าอะไรคือปัญหามีสาเหตุมาจากอะไร มีหนทางแก้หรือไม่ จะแก้อย่างไร จะแก้อย่างไร เมื่อรู้แล้วจึงลงมือแก้ไขปัญหานั้นด้วยความเพียรพยายามอย่างต่อเนื่อง



อริยสัจ 4 ประการนี้เป็นทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล คือ สามารถนำไปแก้ปัญหาหรือความทุกข์ของทุก ๆคนได้ 





พระพุทธศาสนามีข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลาง     ทางสายกลาง หมายถึง ทางที่ยึดความพอดี หรือข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลางตามหลักพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ซึ่งได้แก่ อริยมรรคมีองค์แปด หรือเรียกสั้น ๆ  มรรค 8 ประการ คือ
        1. สัมมาทิฎฐิ คือความเห็นชอบ เช่นเห็นว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เห็นว่าพ่อแม่มีพระคุณต่อเรา เห๋นว่าร่างกายเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นต้น
        2. สัมมาสังกัปปะ คือความดำริชอบ ได้แก่ คิดที่จะไม่โลภ อยากได้ของผู้อื่นหรือคิดที่จะหลุดพ้นจากอำนาจของสิ่งน่าปรารถนายั่วยวนใจทั้งหมด (กาม) คิดที่จะไม่พยาบาทอาฆาตผู้อื่น และคิดที่จะไม่เบียดเบียนใครให้เดือนร้อน
        3. สัมมาวาจา คือ การเจรจาชอบ หมายถึง การพูดจาที่เว้นจากลักษณะของการพูดชั่ว 4 ประการ ได้แก่ การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ และการพูดเพ้อเจ้อไร้สาระ โดยการพูดแต่สิ่งที่เป็นจริงมีประโยชน์ พูดด้วยความเมตตา พูดจาไพเราะ พูดในเวลาที่ควรพูด
        4. สัมสมกัมมันตะ คือ การทำงานชอบ หมายถึง การประพฤติหรือการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเว้นจากการประพฤติดีชั่วทางกาย 3 ประการ คือ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ และประพฤติในกาม
        5. สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ โดยเว้นจากการเลี้ยงชีพในทางที่ผิด เช่น การหลอกลวงเขากิน ปล้น การปล้นเขา การบังคับผู้อื่นให้ค้าประเวณี การค้ายาเสพติด เป็นต้น
        6. สัมมาวายามะ คือ ความเพียรพยายามชอบ หมายถึง ความเพียรพยายามทำสิ่งที่ถูกต้อง ได้แก่ความเพียรพยายาม ระมัดระวังตนมิให้ทำความชั่ว ที่เกิดขึ้นกับตนเอง เพียรพยายามทำความดีให้เกิดขึ้นกับตน เพียรรักษาความดีที่เกิดขึ้นในตนให้อยู่ตลอดไป
        7. สัมมสติ คือความระลึกชอบ หมายถึง การตั้งสติกำหนดพิจารณาให้เห็นสิ่งทั้งหลายที่ปรากฎตามสภาพความเป็นจริง ได้แก่การพิจารณาร่างกาย จิต และความรู้สึกของตนให้เห็นตามสภาพที่เป็นจริง ได้แต่การพิจารณาธรรมทั้งหลายที่มีอยู่ตามสภาพของธรรมนั้น
        8. สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งใจมั่นชอบ ได้แก่ การตั้งจิตแน่วแน่อยู่กับสิ่งหนึ่งโดยชอบ

องค์ประกอบทั้ง 8 ประการนี้ เป็นข้อปฏิบัติสายกลางที่ไม่เคร่งครัดจนเกินไปและไม่ย่อท้อจนเกินไป เป็นข้อปฏิบัติที่สามารถทำให้ผู้ปฏิบัติความหมดทุกข์หรือหมดปัญหาได้อย่างแน่นอน






องค์ประกอบทั้ง 8 ประการนี้ เป็นข้อปฏิบัติสายกลางที่ไม่เคร่งครัดจนเกินไปและไม่ย่อท้อจนเกินไป เป็นข้อปฏิบัติที่สามารถทำให้ผู้ปฏิบัติความหมดทุกข์หรือหมดปัญหาได้อย่างแน่นอน

ตัวอย่างการดำเนินชีวิตที่นำทางสายกลางมาประยุกต์     มาดี เป็นนักเรียนชั้น ม.6 เรียนเก่ง ได้เกรดเฉลี่ย 3.5 ขึ้นไป เขาได้ไฝ่ฝันที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัย ในสาขาที่ตนชอบ จึงมุมานะพยายามอย่างหนัก เคร่งครัด เครียดตลอดเวลา ไม่คุยกับเพื่อน ไม่เล่นกีฬา นอนน้อย เพียง 2 ชั่วโมง ใกล้สอบคัดเลือก เริ่มมีความวิตกกังวลเริ่มมีอาการปวดท้อง อารมณ์ฉุนเฉียวโกรธ เขาไม่สามารถทำข้อสอบได้ พ่อแม่ร่วมให้กำลังใจ จึงค่อยสบายใจ ปีต่อมา มีอิสระ วางแผนใหม่ พักผ่อน ออกกำลัง คุยกับเพื่อน ไม่เครียด ในที่สุดก็สอบได้ตามความต้องการ เพราะหลักทางสายกลาง เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา มาประยุกต์ใช้

พระพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง     ศรัทธา คือความเชื่อ ศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญา หรือเหตุผล ซึ่งเรียกกว่า ศรัทธาเพื่อปัญญา แม้ว่าพระพุทธเจ้าจะทรงสอนให้คนมีศรัทธา แต่ศรัทธาของพระองค์นั้นต้องผ่านการพิจารณาไตร่ตรองด้วยปัญญาให้รอบคอบเสียก่อน ดังที่ทรงสอนชาวกาลามะแห่งเกสปุตตนิคม ในแคว้นโกศลว่า อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ เพียงเพราะฟังตาม ๆ กันมา เพียงเพราะถือปฏิบัติกันสืบ ๆมา เพียงข่าวเล่าลือ เพียงเพราะการอ่านตำราหรือคัมภีร์ เพียงเพราะการให้เหตุผลแบบตรรกะเพียงการอนุมานเอาตามอาการที่ปรากฏ เพียงเพราะเห็นว่าเข้ากันได้ตรงตามทฤษฎีหรือความคิดหรือความคิดของตน เพียงเพราะเห็นว่ารูปลักษณะน่าเชื่อถือ และเพียงพอถือว่าสมณะหรือนักบวชผู้นี้เป็นครูของเรา แต่เมื่อใดได้ใช้ปัญญาพิจารณาโดยรองคอบแล้ว และเห็นว่าที่ทำไปนั้น ไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือนร้อน อีกทั้งปราชญ์ไม่ติเตียน ก็จงทำสิ่งนั้น หลักคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้นมีข้อสังเกตประการหนึ่ง คือ หากทรงสอนเรื่องศรัทธาในเรื่องใด ก็จะทรงสอนปัญญากำกับไว้ในเรื่องนั้นด้วย หมายความว่า ทรงสอนให้ใช้ศรัทธาประกอบด้วยปัญญาเสมอไป

    ตัวอย่างในหลักคำสอน หมวด พละ 5 (ธรรมอันเป็นกำลัง) ประกอบด้วยศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา อริยทรัพย์ 7 (ทรัพย์ภายในอันประเสริฐ) ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ พหุสัจจะ จาคะ และปัญญา จะเห็นได้ว่า ศรัทธาในพระพุทธศาสนาต้องมีปัญญากำกับด้วยเสมอ ซึ่งต่างจากศาสนาอื่น บางศาสนาที่จะสองให้ศรัทธาอย่างเดียว คือ ถ้าพระคัมภีร์สอนอย่างนี้จะต้องเชื่อตามโดยไม่มีข้อแม้ ถ้าหากไม่เชื่อถือว่าบาป พระพุทธศาสนา แม้แต่การสอนหลักธรรมของพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ก็ไม่ได้ทรงบังคับให้เชื่อตามพระองค์แต่อย่างใด ทรงแนะให้พิจารณาไตร่ตรองด้วยเหตุผลและเห็นด้วยจึงเชื่อ

การพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง     ศรัทธา  ในกระบวนการพัฒนาตามหลักพุทธศาสนานั้น หมายถึง ความเชื่อมั่น การซาบซึ้ง ความมั่นใจเหตุเท่าที่ตนสามารถพิจารณาเห็นได้ โดยมีเหตุผลว่า จดหมายหรือเป้าหมายที่อยู่ข้างหน้านั้นเป็นไปได้จริง และมีคุณค่าควรที่จะไปให้ถึง ศรัทธาจึงเป็นบันไดขั้นแรกที่จะนำไปสู่ปัญญาหรือความรู้ ซึ่งตรงกันข้ามกับศรัทธาที่เป็นแบบมอบตัว มอบความไว้วางใจให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยไม่คิดหาเหตุผล ศรัทธาที่ถูกต้องเป็นสื่อนำไปสู่การพัฒนาปัญญา แบ่งออกเป็น 4 ประการ
        1. ความเชื่อมั่นในศักยภาพในการเข้าถึงอิสรภาพทีแท้จริงของมนุษย์ (ตถาคตโพธิสัทธา)
        2. ความเชื่อมั่นในกฎการกระทำ (กัมมาสัทธา)
        3. ความเชื่อมั่นในผลของการกระทำ (วิปกาสัทธา)

    ปัญญา หมายถึง ความรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ปัญญาที่ถูกต้องในกระบวนการพัฒนา มีลักษณะ  3 ประการ คือ  
        1. ความรู้จักเหตุแต่ความเสื่อมและโทษของความเสื่อม (อปายโกศล)
        2. ความรู้จักเหตุแห่งความเจริญและประโยชน์ของความเจริญ (อายโกศล)
        3. ความรู้จักวิธีการละเหตุความเสื่อมและวิธีการสร้างเหตุแห่งความเจริญ (อุปายโกศล)

จากการที่พระพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้องดังกล่าวข้างต้น ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนให้ได้ใช้สติปัญญาความคิดเห็นของตนพิจารณาอย่างเต็มที่ก่อนแล้ว จึงค่อยเชื่อ

สังคมชมพูทวีปสมัยก่อนพุทธกาล     ชมพูทวีป เป็นดินแทนที่เป็นแหล่งกำเนินของพระพุทธศาสนา ตามรูปศัพท์ คำว่า ชมพูทวีป แปลว่า เกาะแห่งต้นหว้า สันนิษฐานว่า อดีตอาจมีต้นหว้าขึ้นอยู่มากมายในดินแดนแห่งนี้ ชมพูทวีปดก่อนที่พวกอารยันจะเข้ามา เดิมเป็นถิ่นที่อยู่พวก ดราวิเดียน ซึ่งประกอบด้วยชนชาติที่พูดภาษาทมิฬ เตลุคุ มาลาบาร์ และ  กะนะริส

    เมื่อประมาณ 800 ปีก่อนพุทธกาล พวกอารยัน ซึ่งเป็นชนผิวขาวได้อพยพเข้ามายึดครองดินแดนส่วนที่อุดมสมบูรณ์ได้ รุกไล่ชนพื้นเมืองคือพวกดราวิเดียนให้ถอยร่นไปทางทิศใต้ และทิศตะวันออกแถบลุ่มแม่น้ำคงคง ส่วนพวกอารยันได้เข้าครอบครองดินแดนตอนเหนือ ได้แก่ ส่วนที่เป็นภาคเหนือของประเทศอินเดียในปัจจุบัน ดินแดนบริเวณนี้ในสมัยพุทธกาลเรียกกว่า มัชฌิมชนบทหรือมัธยมประเทศ

    พวกอารยัน เมื่อเข้ามายึดครองดินแดงชมพูทวีป ได้เรียกชนพื้นเมืองหรือดราวิเดียนว่า ทัสยุ หรือ ทาส หรือ มิลิกขะ ซึ่งแปลว่า ผู้ที่ไม่เจริญ เรียกตัวเองว่า อารยัน หรือ อริยกะ ซึ่งแปลว่า ผู้เจริญ 

ด้านการปกครอง     สมัยก่อนพุทธกาล ชาวชมพูทวีป มักจะปกครองกันโดยสามัคคีธรรม คือ พระราชวงศ์ชั้นผูใหญ่และประชาชนมสิทธิในการปกครองด้วย เมื่อกษัตริย์ทรงประพฤติผิดราชธรรม ประชาชนก็อาจทูลเชิญให้สละราชสมบัติได้ สมัยก่อนพุทธกาล การปกครองมีการแบ่งเขตการปกครองเป็นแคว้น ๆ ตามที่ระบุในติกนิบาตร อังคตตรนิกาย พระสุตตันตปิฏก พระไตรปิฏก เล่มที่ 20 มีทั้งหมด 21 แคว้น แบ่งเป็นแคว้นใหญ่ 16 แคว้น และแคว้นเล็ก ๆ อีก 5 แคว้น
        1. แคว้นมคธ เมืองหลวงชื่อราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
        2. แคว้นโกศล เมืองหลวงชื่อสาวัตถี พระเจ้ามหาโกศล รุ่นเดียวกับพระเจ้าสุทโธทนะ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเป็นสหายกับพระเจ้าพิมพิสารแห่งแคว้นมคธ
        3. แคว้นวังสะ เมืองหลวงชื่อโกสัมพี พระเจ้าอุเทนเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
        4. แคว้นอวันตี เมืองหลวงชื่อุชชนี พระเจ้าจัณฑปัชโชติเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
        5. แคว้นวัชชี เมืองหลวงชื่อเวสาลี มีการปกครองแบบสามัคคีธรรม มีแคว้นสักกะ แคว้นมัลละ มีการปกครองเดียวกัน

ลักษณะการปกครอง    1. ราชาธิปไตย หรือสมบูรณาญาสิทธิราช เป็นรูปแบบการปกครองที่มีกษัตริย์เป็นประมุข มีอำจาจสูงสุด เด็ดขาด มีรัชทายาทสืบสันติวงศ์ มีแคว้นมคธ แคว้นโกศล แคว้นวังสะ และแคว้นอวันตี เป็นต้น
    2. สามัคคีธรรม เป็นรูปแบบที่ไม่มีกษัตริย์ใช้อำนาจสิทธิ์ขาดเพียงผู้เดียว ไม่มีรัชทายาทสืบสันติวงศ์ ผู้ได้รับการคัดเลือกและมอบหมายจากประชาชนให้เป็นประมุข โดยดำรงตำแหน่งตามระยะเวลาที่กำหนด การบริการแคว้นจะดำรงตำแหน่งตามระยะเวลาที่กำหนด การบริการแคว้นจะกระทำ เพื่อวินิจฉัยตัดสินปัญหาต่าง ๆ โดยยึดเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ โดยสัณฐาคารหรือเรียกว่า รัฐสภาในปัจจุบัน เพื่อวินิจฉัยตัดสินปัญหาต่าง ๆ เช่น แคว้นสักกะ แคว้นมัลละ แคว้นวัชชี ชาวพื้นเมืองหรือพวกที่อารยันเรียกว่า มิลักขะ ความจริงเป็นชนชาติที่มีความเจริญรุ่งเรืองด้านวัตถุ เช่นสถาปัตยกรรม และด้านจิตใจ เช่น ด้านศาสนา ปรัชญา อาจกล่าวได้ว่า มีความเจริญรุ่งเรือกว่าพวกอารยันเสียอีก 

    เมื่อพวกอารยันยึดครองดินแดนชมพูทวีปก็ได้นำความเจริญด้านศาสนา ปรัชญามาปรับใช้และพัฒนาให้เป็นประโยชน์แก่ตนเป็นเครื่องมือในการปกครองชาวพื้นเมืองหลักศาสนาที่พวกอารยันนำมาปรับใช้ในการปกครองชาวพื้นเมืองก็คือ ศาสนาพราหมณ์ เพราะชาวพื้นเมืองนับถือพระพรหม และเชื่อว่า พระพรหมเป็นผู้สร้างโลกและมนุษย์ และเป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของมนุษย์ ตามความเชื่อในลักษณะนี้ เรียกว่า พรหมลิขิต พวกอารยันก็สวมรอยว่า พระพรหมได้กำหนดชะตาชีวิตของมนุษย์ไว้ 4 วรรณะ คือ 
        1. วรรณะพราหมณ์ โดยกำหนดให้พราหมณ์หรือนักบวช ครู อาจารย์ อยู่ในวรรณะนี้ มีหน้าที่ศึกษาพระคัมภีร์ ประกอบพิธีศาสนา และสั่งสอนศิลปวิทยา เชื่อกันว่าคนในวรรณะนี้เกิดจากพระโอษฐ์ (ปาก) ของพระพรหม
        2. วรรณะกษัตริย์ โดยกำหนดให้ผู้ปกครองบ้านเมือง นักรบ อยู่ในวรรณะนี้ มีหน้าที่ปกครองบ้านเมือง เชื่อกันว่ากลุ่มคนในวรรณะนี้เกิดจากพระพาหา (แขน) ของพระพรหม
        3. วรรณะแพศย์ โดยกำหนดให้พ่อค้า นักธุรกิจ สถาปนิก วิศวกร แพทย์ อยู่ในวรรณะนี้ มีหน้าที่ค้าขาย ทำธุรกิจต่าง ๆ เชื่อกันว่ากลุ่มคนในวรรณะเกิดเกิดจากพระอูรู (โคนขา หรือ ตะโพกของพระพรหม)
        4. วรรณะศูทร โดยกำหนดให้กรรม ลูกจ้า คนแบกหาม อยู่ในวรรณะนี้ มีหน้าที่ รับใช้คนในวรรณะทั้งสามข้างต้น เป็นคนที่มีฐานะต่ำต้อย ซึ่งเชื่อกันว่า เกิดจากพระบาท (เท้า) ของพระพรหม

    การจัดแบ่งชนชั้นทางสังคมของชาวชมพูทวีป โดยได้ใช้ระบบวรรณะในสมัยต้น ๆ ยังไม่เคร่งครัด และยังไม่ก่อปัญหาใด ๆ เพราะเป็นการแบ่งเพื่อความเหมาะสมของฐานะหน้าที่ของงานบุคคล และเพื่อประโยชน์ในการปกครอง แต่ภายหลังเฉพาะช่วงสมัยที่พวกพราหมณ์มีอำนาจ ได้มีการแปรเปลี่ยนความหมาย หลักการ และสาระสำคัญของการจัดแบ่งชั้น วรรณะในทางอื่นคือ พวกพราหมณ์อ้าง การจัดแข่งวรรณะเช่นนี้มิใช่ตัวเองเป็นผู้แบ่ง แต่เป็นพระผู้เป็นเจ้าเบื้องบนทรงเป็นผู้กำหนด จึงได้ถือกันอย่างเคร่งครัด ผู้อยู่วรรณะใดก็ต้องดำรงตนอยู่ในวรรณะนั้นตลอดไป และการประกอบอาชีพก็ต้องให้เป็นไปตามหน้าที่ของตน จะทำงานก้าวก่ายกันไม่ได้

    ระบบวรรณะแพร่หลายไปทั่วประเทศอินเดียและเนปาล พระสิทธัตถะ ซึ่งเกิดในวรรณะกษัตริย์ ทรงรับรู้ปัญหามาโดยตลอด ทรงคิดว่า ถ้าสังคมยังตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ที่สอนให้เชื่อเรื่องพรหมลิขิต และยอมรับเรื่องระบบวรรณะอยู่ ประชาชนที่จัดอยู่ในวรรณะอันต่ำต้อย จะไม่มีโอกาสเป็นไทแก่ตนเองได้เลย ด้วยพระเมตตากรุณาต่อมนุษย์ พระองค์จึงทรงคิดหาทางปฏิวัติความคิดความเชื่อของประชาชนให้เลิกเชื่อเรื่องพรหมลิขิต  เวลา 6 ปี พระองค์ทรงค้นคว้า ทดลอง จนทรงค้นพบหนทางที่ช่วยให้มนุษย์เป็นไทแก่ตนเอง จากนั้นทรงประกาศสัจธรรมที่ตรัสรู้ คือ หลักกรรมลิขิต โดยพระองค์ทรงสั่งสอนว่า ชีวิตคนเราจะดีหรือชั่วไม่ได้ขึ้นอยู่กับพรหมลิต หากขึ้นอยู่กับการกระทำของเรานั่นเอง

ที่มา : ATAPY Co.,Ltd.